สิ่งต่างๆ บนโลกโซเชียลมีเดียเปลี่ยนแปลงเร็วในทุกวินาที ไม่ว่าจะข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิงต่างๆ การออกสินค้าโปรโมชั่น หรือแม้แต่ความเคลื่อนไหวส่วนบุคคล ยิ่งนับวันกระแสการใช้โซเชียลมีเดียก็ร้อนแรงไม่มีตก ทำให้วันนี้โลกทั้งใบถูกย่อมาอยู่ที่ปลายนิ้วแล้ว โอกาสช่องทางการสื่อสารที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาสู่สายตาคนนับล้านทั่วโลกทำให้นักการตลาดและคอนเทนต์ครีเอเตอร์หันมาใส่ใจกับการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ มากมายเพื่อพูดคุยแบ่งปันเรื่องราวกับผู้ใช้งานที่วันหนึ่งอาจขยับมาเป็นกลุ่มเป้าหมายในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการในการต่อยอดทางธุรกิจ
และแน่นอนสิ่งที่ทำให้โซเชียลมีเดียมีความน่าตื่นตาตื่นใจและดึงดูดผู้คนมากมายให้เข้ามาแบ่งปันประสบการณ์ด้วยกันไม่รู้จบนั้นก็น่าจะเป็นผลมาจากรูปภาพและวิดีโอที่ถูกแชร์ต่อๆ กัน ซึ่งถ้าคุณคือหนึ่งคนที่ใช้งานหลายๆ แพลตฟอร์มจะเห็นได้ว่า แต่ละแพลตฟอร์มต่างมีรูปแบบเงื่อนไขการโพสต์ภาพและวิดีโอที่แตกต่างกันไปเพื่อให้ง่ายและเหมาะสมกับรูปแบบหน้าตาของแต่ละแพลตฟอร์มนั่นเอง
ถ้าคุณคือคนที่ต้องป้อนรูปภาพและวิดีโอลงไปในแต่ละแพลตฟอร์มย่อมต้องการความคมชัดของมีเดียและความสวยงามลงตัวเพื่อทำให้ช่องทางของคุณดูดีและดึงดูดให้คนเข้ามาติดตาม ดังนั้นทริคสำคัญที่นับว่าเป็นเรื่องเบสิกที่คนโพสต์จะต้องรู้และนำไปปรับใช้ก็คือเรื่องของขนาดภาพและวิดีโอที่ถูกต้องของแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อปรับขนาดมีเดียที่คุณต้องการจะลงให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ภาพหรือวิดีโอของคุณถูกลดขนาดอัตโนมัติทำให้สูญเสียความสวยงามและความคมชัดลง
เราได้รวบรวมข้อมูลอัปเดตล่าสุดของขนาดรูปภาพและวิดีโอมาให้ครบจบทุกแพลตฟอร์มฮิต ไม่ว่าจะ Facebook, Instagram, YouTube และ TikTok สำหรับปรับใช้งานในปี 2023 เพื่อให้ได้ภาพที่มีอัตราส่วนที่สวยงามและเพิ่มประสิทธิภาพในการโพสต์คอนเทนต์ของคุณ
โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มฮอตฮิตติดลมบนที่ได้รับความนิยมอย่าง Facebook ที่สามารถโพสต์คอนเทนต์ได้ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ และแน่นอนว่าภาพคือหัวใจหลักยิ่งถ้าทำภาพให้น่าสนใจก็จะช่วยดึงดูดให้คนหยุดดูโพสต์ของเรา แต่อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้จะพบอยู่บ่อยๆ เมื่อต้องโพสต์คอนเทนต์นั่นคือ Facebook ขยันปรับเปลี่ยนการรองรับขนาดรูปภาพที่แสดงบน Interface ค่อนข้างถี่ ไม่ว่าจะ Newsfeed, Cover Image, Profile Picture Sizing ทำให้กราฟฟิคดีไซเนอร์ปวดหัวและต้องคอยอัพเดทขนาดภาพเพื่อสร้าง Artwork และจัดวางเลเอ้าท์ให้พอดีกับตำแหน่งที่ต้องการใส่รูปเพื่อแสดงผลอย่างลงตัวไม่ให้ภาพของเราถูดลดขนาดและโดนตัดทอนคุณภาพจนลดความสวยงามของภาพนั้นๆ ลง เราเลยอัปเดทไซส์ล่าสุดของเทมเพลตต่างๆ ที่จะช่วยให้แสดงผลบน Facebook ได้อย่างสมบูรณ์มาให้ใช้งานกันได้เลย
รูปโปรไฟล์ Facebook อัตราส่วนที่เหมาะคือ 1:1 ในคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปใช้ขนาด 176 x 176 pixel หรือ ขนาดที่เหมาะสมสำหรับแสดงผลในสมาร์ทโฟน คือ 196×196 pixel
ภาพปกใช้อัตราส่วนกว้างยาว 16:9 ขนาดภาพที่ใช้งานตรงส่วนนี้เพื่อความคมชัดต้องมีขนาดกว้าง 400 pixel และสูง 150 pixel เป็นอย่างต่ำ หรือถ้าไม่ต้องการให้เกิดพื้นที่ว่างด้านข้างสำหรับเดสก์ท็อปสามารถกำหนดขนาดที่กว้าง 851 pixel สูง 315 pixel โดยขนาดรูปควรมีขนาดน้อยกว่า 100 kB เพื่อให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว หรือสำหรับสมาร์ทโฟนใช้ขนาดกว้าง 640 pixel สูง 360 pixel และสามารถเลือกใช้สกุลไฟล์ sRGB JPG หรือ PNG ได้
เพื่อแสดงผลในฟีเจอร์สตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดมีเดียทั้งภาพและวิดีโอควรมีอัตราส่วนกว้างยาวที่ 9:16 ถึง 1.91:1 แสดงผลเต็มจอที่ 1080 × 1920 pixel หรือหากต้องการเผื่อระยะขอบที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone ให้ทิ้งพื้นที่เผื่อ title-safe บน 250 pixel และล่างอีก 250 pixel เพื่อให้เนื้อหาของภาพอยู่ตรงกลางเฟรมพอดีไม่ถูกบดบัง
สำหรับโพสต์ภาพบนฟีด Facebook แบบภาพเดี่ยว หรือ Single post ขนาดภาพที่แนะนำเพื่อไม่ให้เกิดขอบข้างภาพ คือภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัส อัตราส่วน 1:1 โดยให้รูปภาพมีขนาด 1,600 x 1,600 pixel และ 3,200 x 3,200 pixel หรือหากต้องการโพสต์ภาพแนวนอนสามารถใช้อัตราส่วน 3:2 ด้วยขนาดขั้นต่ำ 1,200 x 800 pixel และ ภาพแนวตั้งด้วยอัตราส่วน 4:5 ขนาด 1,080 x 1,350 pixel เลือกใช้ประเภทไฟล์ JPG หรือ PNG
สำหรับรูปภาพในการแชร์ลิงก์ที่มีการระบุ URL ซึ่งสามารถใส่หัวข้อและคำอธิบายของเนื้อหาไปพร้อมกับรูปภาพได้ด้วย โดยมีขนาดที่กำหนดตามนี้ ขนาดรูปภาพต่ำสุดที่อนุญาตคือ 200 x 200 pixel ขนาดภาพที่แนะนำในการแสดงผลที่ดีที่สุดบนอุปกรณ์ที่มีความละเอียดสูงอย่างน้อยต้องมีขนาดกว้าง 1,200 pixel สูง 630 pixel
บน Facebook คุณยังสามารถโพสต์หลายภาพได้พร้อมกันในรูปแบบอัลบั้ม ซึ่งในอัลบั้มจะประกอบไปด้วย ภาพใหญ่ที่เป็นปกพร้อมภาพด้านในโดยจะขึ้นบนหน้าฟีดในรูปแบบ Thumbnail และสามารถเลือกรูปแบบเลเอ้าท์ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับขนาดภาพที่ต้องการ
– Album post : 1 cover แนวนอนขนาด 1,080 x 720 pixel + 3 ภาพประกอบ อัตราส่วน 1:1 ขนาด 1,080 x 1,080 pixel
– Album post : 1 cover แนวนอนขนาด 1,080 x 540 pixel + 2 ภาพประกอบ อัตราส่วน 1:1 ขนาด 1,080 x 1,080 pixel
– Album post : 1 cover แนวตั้งขนาด 720 x 1,080 pixel + 3 ภาพประกอบ อัตราส่วน 1:1 ขนาด 1,080 x 1,080 pixel
– Album post : 1 cover แนวตั้งขนาด 540 x 1,080 pixel + 2 ภาพประกอบ อัตราส่วน 1:1 ขนาด 1,080 x 1,080 pixel
บน Facebook ยังสามารถโพสต์หรือแชร์เนื้อหาในรูปแบบวิดีโอได้เช่นกัน ทั้งยังรองรับการอัปโหลดวิดีโอในแบบแนวนอนและแนวตั้งตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของเนื้อหาที่คุณต้องการนำเสนอ เพื่อให้วิดีโอภาพเคลื่อนไหวที่ถูกแชร์มีคุณภาพสูง แสง สี เสียงคมชัด ควรปรับขนาดวิดีโอให้เหมาะสมกับสเปคแพลตฟอร์มของ Facebook เพื่อป้องกันไม่ให้วิดีโอของคุณโดนบีบอัดไฟล์จนเสีย Resolution ของไฟล์วิดีโอลง
Facebook รองรับประเภทไฟล์วิดีโอสกุล MP4, MOV และ GIF รวมไปถึงฟีเจอร์วิดีโอในรูปแบบ 360 องศา โดยขนาดที่แนะนำสำหรับภาพเคลื่อนไหวที่สามารถแสดงผลได้ทั้งเดสก์ท็อปและมือถือ ควรจะมีขนาด 1,280 x 720 pixel เท่ากับอัตราส่วน 16:9 ในแนวนอน Landscape และ อัตราส่วน 9:16 ในแนวตั้ง Portrait หรือจะเลือกลงวิดีโอด้วยอัตราส่วน 1:1 ในขนาดขั้นต่ำ 1,080 x 1,080 pixel ก็ได้เช่นกัน ด้วยความยาวตั้งแต่ 1 วินาที ถึง 241 นาที และมีขนาดไฟล์สูงสุดไม่เกิน 4GB เทคนิคเพื่อคุณภาพของวิดีโอควรใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วและเสถียรในการอัปโหลดวิดีโอลงใน Facebook
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มบนมือถือที่เข้าถึงผู้ใช้งานได้ทุกไลฟ์สไตล์อย่างมีสไตล์ต้องยกให้ instagram ซึ่งเป็นอีกแอปพลิเคชันที่มีความน่าสนใจไม่แพ้โซเชียลมีเดียอื่น และยังรองรับมีเดียต่างๆ ทั้งภาพถ่าย และ ภาพเคลื่อนไหว เน้นการสื่อสารด้วย Visual มากกว่าการอ่านข้อความยาวๆ จึงทำให้ผู้คนยังคงใช้งาน instagram เพื่อโพสต์ภาพสวยๆ วิดีโอเท่ๆ มาแชร์ให้กับเพื่อนได้ติดตามกัน ฟีเจอร์ของ instagram ก็มีให้เลือกใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการ Post ภาพและวิดีโอ แชร์ Story คลิปในรูปแบบReel หรือ Live แต่จะทำให้ instagram ของคุณน่าสนใจและจัดเรียงลูกเล่นอย่างสวยงามก็ควรทำขนาดให้ตรงกับที่ instagram รองรับ
รองรับรูปภาพได้หลายขนาดทั้ง แนวนอน Landscape 1,080 x 566 pixel แนวตั้ง Portrait ขนาด 1,080 x 1,350 pixel หรือจะแบบออริจินัลอย่างสี่เหลี่ยมจตุรัส อัตราส่วน 1:1 ขนาด 1,080 x 1,080 pixel ในความจริงขนาดอาจจ
คุณสามารถโพสต์ชั่วคราวใน IG Story ได้ทั้งรูปภาพ และ วิดีโอ แต่เมื่อครบ 24 ชั่วโมงสิ่งที่โพสต์จะหายไปโดยอัตโนมัติ หรือจะสร้างคลิปวิดีโอขนาดสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 90 วินาทีในรูปแบบ IG Reels โดยอัตราส่วนที่แนะนำสำหรับ Reels และ Story คือ 9:16 หรือ 1080 x 1920 pixel
LIVE เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ด้วยวิธีการถ่ายทอดสดแบบ Long-Form หรือวิดีโอที่มีความยาว สามารถใช้งานได้บนแอปพลิเคชัน android และ ios โดยสามารถเชิญผู้คนหรือเพื่อให้เข้ามาร่วม LIVE ด้วยกันได้สูงสุด 3 คน และยังสามารถบันทึกการ LIVE เพื่อเก็บบันทึกหรือแชร์ได้ ด้วยอัตราส่วน 9:16 ในแนวตั้ง หรือ 16:9 ในแนวนอน
YouTube แพลตฟอร์มแชร์วิดีโอและยังเป็นอีกหนึ่งโซเชียลมีเดียที่รวมคอนเทนต์ในรูปแบบเสียงและภาพเคลื่อนไหวไว้มากมายทั่วโลก และนับว่าเป็นเครื่องมือค้นหายอดนิยมอันดับสองรองจาก Search Engine อย่าง Google ทุกคนสามารถสร้าง YouTube channel เป็นของตัวเองได้เพื่อแชร์เรื่องราวที่น่าสนใจตามความถนัด ซึ่งวิธีใช้งาน YouTube ก็ไม่ยาก โดยช่อง YouTube ของคุณจะสมบูรณ์น่าติดตามและเป็นที่รู้จักได้ก็ต่อเมื่อคุณจะเริ่มอัปโหลดเนื้อหาวิดีโอของคุณไปยังแพลตฟอร์ม และยังสามารถแชร์ลิงค์วิดีโอต่อไปได้ในหลายๆ โซเชียลมีเดียให้เป็นที่รู้จักและดึงผู้ชมเข้ามาที่ช่องทางของคุณ แล้วเราจะตั้งค่าขนาดวิดีโอเพื่อลง YouTube อย่างไรดี เพื่อให้ช่องสมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอาร์ตเวิร์คอะไรบ้าง เราได้รวบรวมคำตอบอัปเดทล่าสุดของปี 2023 ไว้ให้แล้ว
การจะให้ช่อง YouTube น่าติดตามและน่าเชื่อถือในเนื้อหาที่คุณต้องการจะสื่อสาร อีกส่วนประกอบที่เป็นเสมือนการแนะนำช่องของคุณที่ละเลยไปไม่ได้ นั่นคือ YouTube Profile หรือภาพ Icon Channel ที่จะแสดงในหน้าหลักของช่องคุณ โดยสามารถเลือกใช้ได้อย่างอิสระเพื่อสื่อคาแรคเตอร์ของช่องออกมาให้ชัดที่สุด ไม่ว่าจะ Logo ของแบรนด์, ชื่อที่สร้างด้วย Typographic logo รูปภาพต่างๆ โดยสามารถใช้ขนาด 800 x 800 pixel หรืออัตราส่วน 1:1 ได้เลยเพื่อคุณภาพที่คมชัด
ในหน้าแรกของ Profile ช่อง YouTube ยังมีแถบด้านบนที่สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระให้เข้ากับธีมของช่อง ซึ่งแถบรูปภาพด้านบนจะเรียกว่าปก YouTube หรือ Channel Cover เพื่อให้ปกสามารถแสดงผลในทุกอุปกรณ์ได้อย่างคมชัดสามารถใช้รูปในขนาดที่แนะนำ คือ 2560 x 1440 pixels
เมื่อเวลาที่ผู้ใช้งานเข้าใช้แพลตฟอร์ม YouTube จะเห็นภาพตัวอย่างคลิปวิดีโอมากมายให้ได้ไล่ดูเพื่อเลือกชม ซึ่งจะมีภาพพร้อมข้อความที่น่าสนใจที่ YouTuber ต่างพยายามออกแบบให้เตะตาผู้ชมเพื่อเรียกให้กดเข้ามาดู ซึ่งชิ้นส่วนนี้เรียกว่า Video Thumbnail หรือ หน้าปกคลิป YouTube โดยขนาดมาตรฐานของหน้าปกคลิป YouTube ที่แสดงผลจะอยู่ที่ 1920 x 1080 Pixel ซึ่งจะเป็นอัตราส่วนเดียวกันกับเนื้อคลิปวิดีโอ ทริคสำคัญอย่าลืมที่จะทำให้ภาพหน้าปกคลิปโดดเด่นและง่ายต่อการจดจำ ใช้ตัวหนังสือที่เห็นชัดเพื่อให้คนดูเข้าถึงช่องได้ง่ายขึ้น
เหนือสิ่งอื่นใดในการอัปโหลดวิดีโอลงช่องยูทูปสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ตั้งแต่เริ่มการถ่ายทำหรือครีเอทคลิปวิดีโอขึ้นมา คือ ขนาดอัตราส่วน Video Aspect Ratios & Dimensions และ คุณภาพ Quality ของวิดีโอที่ต้องการ เพื่อให้ตรงกับการรองรับของแพลตฟอร์ม YouTube ด้วยความที่ YouTube สามารถใช้ได้จากหลากหลายอุปกรณ์ทั้งสมาร์ททีวี คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ตต่างๆ ดังนั้น YouTube เองจะนำเสนอคลิปภายใต้สเปคที่รองรับโดยเฉพาะตามขนาดและคุณภาพดังนี้ โดยคุณสามารถเลือกใช้ได้เพื่อความสมบูรณ์คมชัด ไม่กระตุก เพื่อมอบความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบของคลิปคุณให้กับกลุ่มเป้าหมาย
– 4320p (8k): 7680×4320
– 2160p (4K): 3840×2160
– 1440p (2k): 2560×1440
– 1080p (HD): 1920×1080
– 720p (HD): 1280×720
– 480p (SD): 854×480
– 360p (SD): 640×360
– 240p (SD): 426×240
TikTok เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ยังเรียกจำนวนผู้ใช้งานเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทั้งผู้ชมและอินฟลูเอนเซอร์จนมี TikToker แจ้งเกิดมากมายทั้งเบอร์เล็กเบอร์ใหญ่จากแอคเคาท์ TikTok คอนเทนต์แทบจะทั้งหมดมาในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นๆ แต่มีสไตล์หลากหลาย สนุก น่าสนใจ ที่เน้นการแชร์ข้อมูลความรู้ ทริค รวมถึงกระแสต่างๆ ที่เป็น Real-Time อย่างรวดเร็ว แชร์ง่าย เข้าถึงง่าย และมีโอกาสเป็นไวรัลได้ในวงกว้าง รวมไปถึงการ LIVE ก็ทำได้อย่างง่ายดายเช่นกัน เมื่อมีจำนวนผู้ใช้มากมายหลายกลุ่มทำให้แบรนด์เล็กใหญ่กระโดดลงมาในโซเชียลมีเดียนี้เช่นกันไม่เฉพาะผู้ใช้ทั่วไป โดย TikTok เน้นการโลดแล่นในสมาร์ทโฟนเท่านั้น การแสดงผลต่างๆ จึงถูกปรับให้มีขนาดที่เหมาะกับจอโทรศัพท์เป็นหลัก เพื่อคุณภาพของคลิปและเพิ่มความน่าสนใจให้วิดีโอของคุณกลมกลืนไปกับแพลตฟอร์มให้คนดูมาติดตามคลิปของคุณ สิ่งที่แนะนำคือควรทำคลิปให้อยู่ในไซส์มาตรฐานที่ TikTok รองรับ เพื่อให้เห็นภาพเนื้อหาอย่างเต็มตาและได้อรรถรส ซึ่งทริคในการจัดการกับขนาดคลิปวิดีโอก็ไม่ยาก สามารถใช้ไฟล์วิดีโอที่ถ่ายจากโทรศัพท์ได้เลยเพียงแค่เน้นให้ถูกอัตราส่วนตามขนาดดังนี้
แอคเค้าท์ส่วนตัวหรือ Official ของติ๊กต๊อก ยังคงใช้ขนาด 1:1 หรือ 200 x 200 pixel เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในโลก Social Media ซึ่งหากอยากได้ขนาดที่คมชัดมากขึ้น สามารถเพิ่มความใหญ่ของรูปได้โดยยังคงยึด Ratio ที่ 1:1
นิยมแสดงผลวิดีโอในแนวตั้ง ขนาด pixel ไม่ได้สำคัญเท่ากับอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งสามารถใช้ขนาด 1,080 x 1920 pixel ตามมาตรฐานในอัตราส่วน 9:16 โดยสามารถอัปโหลดความยาววิดีโอสูงสุดที่ 10 นาที และรองรับไฟล์ .mp4, .mov, .mpeg, .3gp, .avi และ .gif
สนใจทำกราฟิก คอนเทนต์ โฆษณาหรือวิดีโอสามารถติดต่อเราได้ที่ Line Official: @peacecreative